ประวัติหลวงปู่โอภาสี
วัดหลวงพ่อโอภาสี

“อิติ สุคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง”
โอวาทหลวงปู่โอภาสี “ฉันน้อย ทำความเพียรมาก ขัดเกลากิเลสออกจากจิตใจ ไม่คำนึงถึงลาภสักการะ ยศฐาบรรดาศักดิ์ ขอกำจัดพญามาร และเสนามารน้อยใหญ่ ที่คอยมารบเร้าจิตใจ ให้ราบคาบสิ้นไปเท่านั้น”
หลวงปู่โอภาสี ท่านมีนามเดิมว่า นายชวน มะลิพันธุ์ บิดาชื่อ นายมิตร มะลิพันธุ์ มารดาชื่อ นางล้วน มะลิพันธุ์ ท่านมีพี่น้องอยู่ 8 คน เป็นหญิง 4 คน เป็นชาย 4 คน บ้านเกิดของท่านเกิดที่บ้านตรอกไฟฟ้า อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรี- ธรรมราช
หลวงปู่โอภาสี ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับปี พ.ศ.2441 ท่านเป็นบุตรคนโตสุด ถัดมาคือ นางแค มะลิพันธุ์ คนที่สามคือ หลวงพ่อกิมเส็ง จิตธมโม ด.ญ.ส้มอิ่ม (ตายตอนเด็ก) นายชม มะลิพันธ์ นางห้วน มะลิพันธุ์ นายแปลง มะลิพันธุ์ และนางกิมฮั้ว มะลิพันธุ์
ตระกูลฝ่ายโยมบิดาของหลวงปู่นั้น มีเชื้อสายจีน ครอบครัวมีฐานะพอกินพอใช้ ตอนหลวงปู่โอภาสีเป็นเด็กนั้น พ่อ-แม่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านในไร่ติดกับวัดใน มีที่ดินพอสมควร บิดาท่านไม่ถนัดในการทำไร่นาสวน ชอบในการค้าขายมากกว่า บิดาท่านจึงย้ายครอบครัวออกมาตั้งบ้านใหม่ ที่ชุมชนตรอกไฟฟ้า หรือบ้าน ปากสระ เด็กชายชวนจึงได้มาเติบโตขึ้นที่บ้านตรอกไฟฟ้านั่นเอง
บิดาของท่านประกอบอาชีพค้าขายทางเรือ คือ เอาของกินของใช้ไปเร่ขายตามคลองต่างๆ ในย่านอำเภอปากพนัง เด็กชายชวนมะลิพันธุ์ เป็นเด็กสุภาพเรียบร้อย พูดจานุ่มนวลมาตลอด และส่อแววเฉลียวฉลาดให้เห็นมาตั้งแต่เด็ก มีความขยันในการงานต่างๆ ดีมาก ตอนเด็กท่านใฝ่ฝันว่าจะเรียนหนังสือให้สูง แต่เนื่องจากทาง ครอบครัว พ่อ-แม่จะต้องส่งเสียและจะเป็นภาระขาดกำลังสำคัญที่จะช่วยเหลือครอบครัวไปคนหนึ่ง พ่อ-แม่จึงบอกให้ทราบว่า ไม่สามารถที่จะส่งเสียให้ลูกเรียนได้นะ ลูกต้องช่วยพ่อ-แม่ทำมาหากินกันก่อน น้องยังเล็กๆ กันอยู่นะ
แต่เด็กชายชวนก็รบเร้าบิดา-มารดาอยู่เรื่อยๆ ว่าอยากเรียนหนังสือ บิดาก็เลยพาไปฝากไว้ที่วัดใกล้ๆ บ้าน เพื่อที่จะเรียนหนังสือไปด้วย และมาช่วยงานทาง ครอบครัวได้ด้วย วัดที่ท่านไปศึกษาเล่าเรียนตอนเด็ก คือ วัดใต้หรือวัดนันทาราม อยู่ใกล้บ้านท่านนั้นเอง เป็นลูกศิษย์อยู่วัดนั้น จนกระทั่งอายุได้ 15 ปี เรียนหนังสือ จนจบชั้นสูงสุดของวัดนั้นแล้ว ท่านก็บอกกับบิดา-มารดาว่า อยากจะเรียนต่อไปให้สูงขึ้นไปอีก และนั่นหมายถึงว่าจะต้องไปเรียนต่อในเมือง จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ทางพ่อ-แม่ซึ่งมีภาระต้องเลี้ยงน้องอีก 7 คนที่ยังเล็กๆ กันอยู่ เด็กชายชวนเข้าใจดีจึงได้บอกกับพ่อ-แม่ว่าผมจะขอบวชเป็นสามเณร ซึ่งจะได้เรียนทางธรรม จะได้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายทางครอบครัวลงไปได้บ้าง บิดาจึงได้จัดให้บวชเณรในปีนั้นเอง ได้เข้าพิธีบรรพขาเป็นสามเณรที่วัดนันทาราม หรือวัดใต้ที่เกิดกับบ้านเกิดของท่าน ที่อำเภอปากพนังนั้นเอง โดยมีท่านสมภารนนท์เป็นเจ้าอาวาสวัดใต้ ในขณะนั้นเป็นผู้บรรพชาให้ ในราวๆ พ.ศ. 2456 ได้บวชแล้วสามเณรชวนก็อยู่ที่วัดใต้ หรือ วัดนันทารามได้ 1 ปี ท่านสมภารนนท์ เห็นว่าสามเณรชวน ท่านเป็นคนรักการศึกษาเล่าเรียนมากๆ มีความฉลาด จึงอยากจะส่งเสริมให้ได้เรียนต่อสูงไปอีกในทาง ปริยัติธรรม ท่านก็เลยพาไปฝากให้อยู่ศึกษาปริยัติธรรม ณ
Cr. อาจารย์ยอด : สองประหลาด (หลวงพ่อกบ, หลวงพ่อโอภาสี) [พระ] new
https://www.youtube.com/watch?v=pxL3c9OBvWg
วัดท่าโพธิ์ ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งในสมัยนั้นเป็นสำนักเรียนปริยัติธรรมที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนครศรีธรรมราช สามเณรชวนได้ศึกษาอยู่ 3 ปี เพราะท่านเป็นคนเรียนเก่งมาก เข้าใจหลักธรรมได้ดี จึงสอบได้ทุกดปี เพียง 3 ปีก็สอบได้นักธรรมชั้นเอกแล้ว ครูบาอาจารย์ใน สำนักวัดท่าโพธิ์มีความเป็นว่าควรส่งเสริมให้ไปเรียนต่ออีกทางด้านภาษาบาลี ณ สำนักเรียนวัดบวรนิเวศที่กรุงเทพฯ ต่อ จึงจัดการส่งตัวท่านมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ สามเณรชวนมาเรียนภาษาบาลีได้เพียงไม่นาน ท่านก็มีอายุครบอุปสมบท จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบวรนิเวศ
พระมหาชวน วัดบวรนิเวศ ประวัติหลวงปู่โอภาสี สมัยอยู่วัดบวรนิเวศ ท่านได้เคยศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลีที่นั้น จนกระทั่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และท่านมี ความรู้ทางด้านเปรียญจึงได้เป็น “พระมหา” ท่านได้ศึกษาอยู่วัดบวรนิเวศหลายปี อยู่จนได้เปรียญธรรม 8 ประโยค และเก่งทางด้านภาษาต่าง ๆ อีกมาก จนเชี่ยวชาญในหลายภาษา เช่น บาลี สันสกฤต ฮินดู อังกฤษ เป็นต้น เป็นที่ยอมรับกันในบรรดาเพื่อนสหธรรมิก และครูบาอาจารย์ของท่านมากมายว่า พระมหาชวนนั้นเป็นคนเรียนเก่งมาก ขยันศึกษาหาความรู้ จริงจังต่อชีวิตมาก จนได้รับหน้าที่เป็นครูสอนปริยัติธรรมทั้งบาลีและสันสกฤต ลูกศิษย์ที่ท่านเคยได้สอน ไว้หลายรูปที่เคยเรียนกับท่าน ณ สำนักวัดบวรนิเวศนี้ ส่วนใหญ่จะได้เป็นพระเถระผู้ใหญ่ในคราวต่อมาของประเทศไทย
พระมหาชวนหรือหลวงปู่โอภาสี สมัยอยู่วัดบวรนิเวศนั้น ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมากๆ และยังสนใจศึกษาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานอีก จึงทำให้ ท่านมีวัตรปฏิบัติค่อนข้างจะแตกต่างไปจากพระนักศึกษาธรรมทั่วไป ท่านใช้ชีวิตสันโดษ มีความคิดเรื่องธรรมลึกซึ้งมาก ๆ มีความรู้ทางด้านปริยัติธรรมอย่าง แตกฉาน ซึ่งจะพบเห็นได้จากหนังสือบทกลอนเก่า ๆ ที่ท่านเคยเขียนเอาไว้ในสมัยอยู่วัดบวรนิเวศ ซึ่งในตอนนั้นท่านได้เปลี่ยนชื่อท่านเองเป็น “โอภาสี” แล้ว โดยท่าน ได้ให้เหตุผลในการเปลี่ยนชื่อไว้ว่า “พระมหาชวนนั้นได้ตายไปจากโลกนี้แล้ว ต่อแต่นี้ไปมีแต่เรา (โอภาสี) เหลืออยู่เพียงเท่านั้นเอง” ท่านจึงใช้นามปากกาเขียนแต่ง หนังสือแจกคนที่สนใจหลักธรรมของท่าน นามว่า โอภาสี บวรนิเวศ

ท่านได้แต่งหนังสือไว้หลายเล่ม ส่วนใหญ่จะแจกแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้นเอง ความเป็นอยู่ของท่านค่อนข้างแปลกไปจากพระในวัดทั้งการปฏิบัติทั่วไป หลาย ๆ อย่าง ท่านมุ่งหวังไม่ใช่เพียงเพื่อต้องการศึกษาพระปริยัติธรรมเท่านั้น หากแต่มีความปรารถนาความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายทั้งปวง เพื่อมุ่งให้สำเร็จ อรหันต์ดับกิเสลให้หมดสิ้นไป นับแต่นั้นมาท่านจะพูดก้ับคนที่พบเจอท่านว่า พระมหาชวนนั้นได้ตายไปจากโลกนี้แล้ว ตั้งแต่นี้ไปเหลือเพียงเรา คือ “โอภาสี” เท่านั้น ทุกคนได้ยินเช่นนั้นก็ต่างคิดว่าท่านได้ค้นพบแสงสว่างแห่งธรรมใน รูปแบบใหม่ บางคนก็พูดในทางไม่ดีหลายอย่างมากมาย
นับตั้งแต่นั้นมา ของทุกอย่างที่เป็นของส่วนตัวของท่าน ท่านจะนำไปเผาไฟหมดสิ้นไปทุกอย่าง เคร่งครัดในการทำวัตรเช้า-เย็น และปฏิบัติสมาธิกรรมฐานโดยการบูชาไฟ หรือเพ่งกสิณไฟในรูปแบบใหม่ ซึ่งเกิดความแตกต่างไปจากพระมหาชวนคนเดิมและพระภิกษุในวัดบวรนิเวศนั้นด้วย แต่ก็มีคนศรัทธาและนับถือท่านมากไปกว่าเดิมเสียอีก และสิ่งที่แปลกอีกอย่างหนึ่งก็คือ ท่านจะนับถือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มากๆ ซึ่งจะสังเกตได้จากภาพถ่ายต่างๆ ในกฏิของท่านจะเป็นรูปรัชกาลที่ 5 มากมาย และรูปถ่ายของท่านส่วนมากจะเป็นรูปรัชกาลที่ 5 มากมาย และรูปถ่ายของท่านส่วนมากจะมีพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 5 ถือไว้ที่มือท่านเสมอ และท่านยังมีรูปหล่อทองเหลือง ทองแดงรมดำ ของรัชกาลที่ 5 บูชาอยู่ในกุฏิของท่านตลอด ตั้งแต่ท่านบวชเป็นสามเณรแล้ว หลวงปู่โอภาสีได้กล่าวสรรเสริญพระบารมีรัชกาลที่ 5 ไว้ว่า “พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในโลกที่มีบุญญาภินิหารอันยิ่งใหญ่มาก ปรากฏพระนามไปทั่วทิศ ทรงเล็งการณ์ไกลอะไรไว้ไม่เคยผิดพลาด อีกทั้งทรงเปรื่องปราชญ์ชำนิชำนาญในการรัฐประศาสน์และทรงพุทธวินัยอย่างเคร่งครัด ทรงปลดปล่อยทาสให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินสยาม”
ในวัดบวรนิเวศในแต่ละวันนับแต่นั้นมา ท่านจะไม่ค่อยพูดจากับพระในวัดสักเท่าไหร่ ท่านพูดเท่าที่จำเป็น ท่านจะเน้นการปฏิบัติมาก ๆ จนพระในวัดเห็นการบูชาเพลิงของท่านในแต่ละวันเป็นเรื่องแปลกพิสดารกันไปตาม ๆ กัน พระในวัดบางองค์ก็กลัวไฟจะไหม้กุฏิและวัด และในบางครั้งท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปหาความสงบสุขตามป่าต่างจังหวัดต่าง ๆ บ้าง เพื่อปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน และระหว่างทางที่เดินไปธุดงค์นั้น ท่านก็ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสมุนไพรรักษาคนต่าง ๆ ไปด้วย รวมถึงว่านร้อยแปดชนิดต่าง ๆ ใช้ในการรักษาตนเองและผู้อื่นที่พบเจอท่านตามทางธุดงค์บ้าง
การเดินธุดงค์จากวัดบวรนิเวศไป จ.นครศรีธรรมราช บ้านเกิดของท่าน และแวะพักผ่อนเดินทางตามจังหวัดต่าง ๆ ก็ทำให้ท่านได้พบแสงแห่งธรรมในแง่มุมแบบใหม่ กลับจากการเดินธุดงค์ไปเยี่ยมบ้านเกิดของท่านแล้ว ท่านก็เดินทางกลับมาวัดบวรนิเวศอีก พระภิกษุและสามเณรที่เคยได้รับการอบรมสั่งสอนจากท่าน ในการที่จะเตรียมตัวสอบเปรียญธรรมในแต่ละปี มารอพบท่านและขอให้ท่านช่วยกวดวิชา ติวเข้มเพื่อเตรียมตัวสอบในแต่ละปีใหม่มารอพบท่านที่หน้ากุฏิ ท่านบอกกับศิษย์ไปว่า ทฤษฏีทั้งหลายที่ได้สั่งสอนให้ไป แม้จะรู้แล้วอย่างถ่องแท้ แต่ถ้าเราไม่นำไปปฏิบัติ ก็ไม่อาจจะพิสูจน์ความจริงได้ แล้วถึงจะสอบเปรียญธรรมได้ 9 ประโยค ก็ไม่สามารถจะไปนิพพานได้ นอกจากปฏิบัติธรรมตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะแนวทางเอาไว้ให้เท่านั้นเอง ถึงจะนิพพนได้
หลังจกากลับมาจากการเดินธุดงค์ในครั้งนั้น ท่านก็เริ่มบำเพ็ญเพียรอย่างเคร่งครัดมาก จากนั้นก็มีประชาชนให้ความเคารพท่านอย่างมาก เพราะท่านเป็นพระที่สันโดษ อยู่ในวัดไม่ค่อยยุ่งกับใคร วัน ๆ อยู่ในกุฏิ ทุกวันที่ท่านจะต้องปฏิบัติภารกิจเป็นประจำ คือ จะนั่งสมาธิเพื่อเข้าฌานเหมือนเกจิอาจารย์องค์อื่น ๆ แต่สิ่งที่แปลกไปก็คือ คนนำของมาถวายท่านมาก ท่านก็จะเผาไฟมากเช่นกัน ไม่เก็บไว้เลย แต่ก็จะแจกสามเณรในวัดและประชาชนไปบ้าง นอกนั้นโยนเข้ากองไฟหมด จนกฎิของท่านมีควันไฟพุ่งออกมามากมายเต็มไปหมดเลย จนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากมาย ทั้งในวัดและนอกวัดต่าง ๆ นานาว่า ถ้าเผาของแบบนี้ไฟอาจจะไหม้วัดได้
จนวันหนึ่งมีพระในวัดและชาวบ้านข้างวัด ได้นำเรื่องไปบอกเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ และพระอุปัชฌาย์ของท่านที่ท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์ ตอนมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งแรก คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ หรือ หม่อมหลวง ชื่นนพวงศ์ ให้เรียกตัวท่านมาว่ากล่าวตักเตือน ในการที่ท่านเผาของในวัดบวรนิเวศนี้บ้าง ว่าสักวันไฟอาจไหม้วัดได้ แต่การบูชาเพลิงของท่านก็ยังมีขึ้นอีก หลวงพ่อจะไม่ออกไปไหน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ท่านจะฉันอาหารเพียงมื้อเดียว คือ อาหารกลางวัน แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ได้ฉันข้าวเลยด้วยซ้ำไป เพราะท่านจะตักข้าวใส่ปากเพียง 3 คำเท่านั้นก็ไม่ฉันต่ออีกแล้ว ท่านก็ยังครองตัวอยู่มาได้ ก็เป็นเรื่องน่าแปลกแก่ลูกศิษย์และผู้คนที่ไปพบเจอท่านในวัดบวรนิเวศ ภายในห้องของท่านนั้น สิ่งที่ทุกคนมองไปพบเห็นมากมายที่สุด คือ พระบรมรูปพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เต็มไปหมด ที่กุฏิท่านไม่รู้ว่ารูปเล็กหือว่ารูปใหญ่ ท่านจะมีบูชาไว้มากมาย ส่วนในเรื่องกิจกรรมของพระสงฆ์ทั่วไปที่พึงกระทำ คือ การลงไปสวดมนต์ในโบสถ์ ทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็น และวันสำคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา ท่านก็ปฏิบัติตามประเพณีไม่เคยขาด เมื่อสเร็จแล้วท่านก็กลับขึ้นมาบนกุฏิของท่าน บำเพ็ญเพียรตามแนวทางของท่านเหมือนเดิม ท่านจะนั่งบำเพ็ญเพียรภาวนาแบบนี้ทุกวันจนสว่างทีเดียว
สิ่งที่ท่านให้คำอธิบายไว้ในการเผาสิ่งของต่าง ๆ ของท่านนี้ คือ โดยปกติแล้วพระเพลิงเผาผลาญสรรพสิ่งอื่นใดในโลกจนมอดไหม้เป็นจุลมหาจุลไปจนหมดสิ้น ก็จัดว่าเป็นธาตุที่มีความร้อนสูงอยู่แล้วและถึงกระนั้นจิตใจของมนุษย์นั้น ยังมีความร้อนแรงยิ่งกว่ากองเพลิงเหล่านั้นเสียอีก นั่นคือ ความร้อนของมนุษย์นั้น เกิดจากการถูกเผาผลาญของดวงจิตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ อวิชชาต่าง ๆ อีกมากมายและการที่ท่านได้นำเอาสรรพสิ่งของวัตถุทั้งหลายที่คนถวาย ไม่เผาทำลายลง ก็เพื่อเป็นพุทธบูชา และเป็นการดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงให้หมดไปในจิตใจของเรานั่นเอง
ขอบคุณรูปภาพจาก : www.tnews.co.th